top of page
8i7101Buu.png

BURAPHA 

UNIVERSITY

วิสัยทัศน์ ของมหาวิทยาลัยบูรพา

                                

“ขุมปัญญาตะวันออก เพื่ออนาคตของแผ่นดิน”

 Wisdom of the East for the Future of the Nation

 

คำนิยามวิสัยทัศน์และขอบเขตการดำเนินการ

    ขุมปัญญาตะวันออกเพื่ออนาคตของแผ่นดิน (Wisdom of the East for the Future of the Nation) หมายถึง การเป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคตะวันออกของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการสร้างรากฐานเพื่อการพัฒนาให้กับประเทศพร้อมทั้งแสดงบทบาทนำในการเตรียมความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนในสังคมไทย ด้วยองค์ความรู้และวิทยาการที่ทันสมัย ภายใต้ขอบเขตของศาสตร์ที่สำคัญ 7 ด้าน ประกอบด้วย

            (1) ศาสตร์ทางทะเล

            (2) ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ

            (3) ศาสตร์ทางด้านการศึกษา

            (4) ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและการทำงาน

            (5) ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาษาตะวันออก (ภาษาเกาหลี ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น)

            (6) ศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ 

            (7) ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาคตะวันออกของประเทศไทย

บนพื้นฐานของคติพจน์ที่ว่า“การวิจัยนำการพัฒนา”(Research-led Development) ควบคู่กับการส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาตะวันออก พร้อมด้วยบุคลากรที่มีศักย- ภาพสูงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการพัฒนาทางด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงและมีผลกระทบอย่างเป็นพลวัตในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมั่นคงจากคำนิยามวิสัยทัศน์ที่กล่าวมา สามารถขยายความขอบเขตตามวิสัยทัศน์ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ คือ มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลการดำเนินงานที่สำคัญใน 3 ด้าน คือ

           (1) ด้านคุณภาพของบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต

           (2) ด้านศักยภาพของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งสังคมชุมชน 

        (3) ด้านคุณภาพทางวิชาการ วิจัย และศักยภาพในการบริหารจัดการภายในของมหาวิทยาลัย

พันธกิจมหาวิทยาลัยบูรพา

  1. ดำเนินการจัดการศึกษาอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ควบคู่กับการเสริมสร้างเสรีภาพทางวิชาการ และการใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตบนพื้นฐานของหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

  2. ดำเนินการพัฒนาคุณภาพงานวิจัย เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์แขนงต่าง ๆ และดำเนินการให้บริการทางวิชาการและการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนสังคมชุมชน ให้สามารถรองรับต่อการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่มีความเป็นพลวัตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะในรูปแบบต่าง ๆ โดยครอบคลุมการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา และการกีฬา รวมทั้งแสดงบทบาทนำในการพัฒนาสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

123.jpg

ปรัชญา ความสำคัญ

ของหลักสูตร

 

-ปรัชญา-

ผลิตนักสร้างสรรค์ทางด้านจิตรกรรม

ที่มีความสามารถทางด้านศิลปกรรม ในรูปแบบสากล ทั้งจิตรกรรมร่วมสมัย และจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ให้มีอัตลักษณ์เฉพาะของทางภาคตะวันออก โดยเน้นให้บัณฑิตเป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต  สามารถนำเสนอ สามารถปฏิบัติการ และสามารถบูรณาการเพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐและเอกชน โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวชี้นำแนวทางการสร้างสรรค์ โดยใช้ทรัพยากรของชุมชนและองค์กรอย่างคุ้มค่า คุ้มทุน เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายในประเทศให้เจริญก้าวหน้า

 

“เป็นเลิศทางด้านจิตรกรรม  สืบสานศิลปวัฒนธรรม   

เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม”

 

 

-ความสำคัญ-

จิตรกรรมสร้างสรรค์ หมายถึง ผลงานสร้างสรรค์ ที่สร้างขึ้นจากแนวความคิดเฉพาะบุคคลที่มีสุนทรียภาพ ซึ่งผู้สร้างสรรค์จะมีความชำนาญในการใช้สีชนิดต่าง ๆ เช่น สีน้ำ สีฝุ่น สีอะคริลิค สีน้ำมัน ฯลฯ ร่วมกับสื่อและวัสดุ และกรรมวิธีต่าง ๆ ที่เป็นสองมิติ และสามมิติ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแสดงออกถึงเจตนาของการสร้างสรรค์ทางด้านจิตรกรรมอย่างอิสระ แต่สามารถตอบสนองให้เข้ากับอาชีพ องค์กร สังคม เศรษฐกิจ และ     สถาพแวดล้อมในปัจจุบัน

bottom of page